วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย ในการใช้ภาษาก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสารคือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ ในการแปล ผู้แปลมักนึกถึงศัพท์ ถ้าหาได้ก็ไม่มีปัญหา ถ้าหาไม่ได้ก็คิดว่ามีปัญหา ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้ 1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ ชนิดของคำ เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ ประเภททางไวยากรณ์ หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ 1.1 คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ 1.1.1 บุรุษ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง ผู้พูด (บุรุษที่ 1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่ 2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่ 3) 1.1.2 พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง 1.1.3 การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร และสัมพันธ์กับประโยคอื่นอย่างไร 1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ ความแตกต่างแสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม -s ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม -s 1.1.5 ความชี้เฉพาะ ประเภททางไวยากรณ์อีกหนึ่งประเภทที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีความสำคัญในภาษาไทยได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ 1.2 คำกริยา เป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพราะมียางประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท 1.2.1 กาล คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล 1.2.2 การณ์ลักษณะ หมายถึงลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ 1.2.3 มาลา เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนะคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร 1.2.4 วาจก เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ 1.2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ ประโยคเดียวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ 1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น นอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่คำบุพบท ซึ่งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา 2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาอังกฤษ หน่วยสร้าง หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่ต่างกัน ซึ่งผู้แปลควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษดังนี้ 2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด + นาม(อังกฤษ) vs นาม(ไทย) นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ 2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย + ส่วนหลัก(อังกฤษ) vs ส่วนหลัก + ส่วนขยาย(ไทย) ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม เวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้ 2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก เป็นกริยาเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก จะมีรูปตรงกันข้ามในภาษาไทยและอังกฤษ 2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย) ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเน้น subject 2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล คือหน่วยสร้างกริยาเรียง 3. สรุป ลักษณะทางโรงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้ 3.1 เรื่องชนิดของคำ (ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี) 3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์ ในการแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ ผู้แปลควรสำเหนียกความแตกต่างในเรื่องนี้เป็นพิเศษ 3.3เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค นามวลี ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยจะมีหรือไม่มีก็ได้ การวางส่วนขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้าม หน่วยสร้างคำวาจก ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธาน และประโยคส่วนมากขึ้นต้นด้วยเรื่อง หน่วยสร้างกริยาเรียง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ ข้อสรุปท้ายสุดคือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้น ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล ความสำคัญของการแปล ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขว้าง และมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมายเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น ผู้ที่ทำการติดต่อนั้นบางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้และเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศให้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี การแปลในประเทศไทย การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่รวมทั้งความเจริญของเทคโนโลยี ทำให้มีการติดต่อและเดินทางได้ถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว ความต้องการด้านการแปลจึงมากขึ้นเป็นลำดับ โดยได้รับความช่วยเหลือแนะนำและได้รับอุปการะในการพัฒนาประเทศจากต่างประเทศ นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษาการใช้ภาษารวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโรงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ การแปลคืออะไร 1.การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง 2.การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษา 3.การแปลเป็นทักษะพิเศษ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ 4.ผู้แปลจะต้องสามารถถ่ายทอดความคิดจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษาที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน การแปลจึงเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ แต่การแปลทางด้านวรรณคดีและการแปลร้อยกรองเป็นศิลปะชั้นสูงที่ต้องอาศัยจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ พรสวรรค์และความสามารถเฉพาะของผู้เรียน คุณสมบัติของผู้แปล 1.เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ 2.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ 3.เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษาของภาษา 4.เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์ 5.ผู้แปลต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย 6.ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ สรุปการแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง สวยงาม จนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่าตนกำลังอ่านสำนวนแปล ผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลไว้อย่างมิดชิด จนกระทั่งผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับอ่านจากต้นฉบับทีเดียว ดังนั้น ภาษาทั้งสอง คือภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี 1.ภาษาที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง 2.สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ 3.ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ การแปลอังกฤษเป็นไทย ต้องคำนึงความหมาย 7 ประการดังนี้ 1.อนาคตกาล 2.โครงสร้างประโยคอื่นๆ รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์ 3.ศัพท์เฉพาะ 4.ตีความทำนาย การวิเคราะห์ความหมาย สิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์ความหมายคือ 1.องค์ประกอบของความหมาย 2.ความหมายและรูปแบบ 3.ประเภทของความหมาย องค์ประกอบของความหมาย 1.คำศัพท์ 2.ไวยากรณ์ 3.เสียง ความหมายและรูปแบบ 1.ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ 2.รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ประเภทของความหมาย นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมายไว้ 4 ประเภทด้วยกัน 1.ความหมายอ้างอิง หมายถึงความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม 2.ความหมายแปล หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง 3.ความหมายตามปริบท รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย 4.ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบโดยนัย องค์ประกอบของการเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 4.1 สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ 4.2 สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ 4.3 ประเด็นของการเปรียบเทียบ การเลือกบทแปล เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย